เมนู

และเป็นคติของทุกข์ ไม่ใช่วินิบาต เพราะไม่ตกลงเช่นกับอสูร. ชื่ออสุรกาย
ด้วยวินิปาตศัพท์. ก็อสุรกายนั้นเป็นทั้งอบาย เป็นทั้งทุคติ เพราะอรรถ
ตามที่กล่าวแล้ว ท่านเรียกว่า วินิบาต เพราะตกไปทั้งร่างกาย. ท่านกล่าวนรก
มีประการมากมาย มีอเวจีเป็นต้น ด้วยนรกศัพท์. แต่ในที่นี้ท่านกล่าวถึงนรก
อย่างเดียวแม้ด้วยทุก ๆ บท. บทว่า อุปฺปชฺชนฺติ ได้แก่ ถือเอาปฏิสนธิ.
คาถาที่หนึ่งในคาถาทั้งหลาย พระธรรมสังคาหกเถระได้จัดไว้แล้ว
ในสังคีติกาล (เวลาทำสังคายนา). บทว่า ญตฺวาน เป็นบุพพกาลกิริยา
จริงอยู่ ญาณก่อนเป็นพยากรณ์. อีกอย่างหนึ่ง ญตฺวาศัพท์ มีเนื้อความ
เป็นเหตุ เหมือนประโยคว่า สีหํ ทิสฺวา ภยํ โหติ ภัยย่อมมีเพราะเห็น
สีหะ ดังนี้. อธิบายว่า เพราะความรู้เป็นเหตุ. บทว่า พุทฺโธ ภิกฺขูน
สนฺติเก
ความว่า พระพุทธเจ้าผู้มีพระภาค ทรงพยากรณ์เนื้อความที่พระองค์
ตรัสด้วยสองคาถาเบื้องต้นนั้น แก่ภิกษุทั้งหลายในสำนักของพระองค์. บทที่
เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.
จบอรรถกถาปุคคลสูตรที่ 10
จบอรรถกถาทุติยวรรคที่ 2

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ


1. โมหสูตร 2. โกธสูตร 3. มักขสูตร 4. โมหสูตร
5. กามสูตร 6. ปฐมเสขสูตร 7. ทุติยเสขสูตร 8. เภทสูตร 9. โมทสูตร
10. ปุคคลสูตร และอรรถกถา.